ทุนชุมชน

ทุนชุมชน (ทุนที่ไม่ใช่เงิน)  Written by Administrator

                

    ทุนที่ไม่ใช่เงิน หมายถึง สิ่งที่เป็นมูลค่าหรือมีคุณค่าที่มิใช่เงินตรา แต่หมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน เช่น ทุนทรัพยากรที่ก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ของคน ทุนทางสังคม วัฒนธรรมประเพณีปัจจัยบริการทางโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น กรมการพัฒนาชุมชนได้จำแนกประเภทของ ทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ทุนการเงิน และทุนที่ไม่ใช่เงิน ในส่วนของทุนที่ไม่ใช่เงิน จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่

     1.ทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึง คุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของคนทุกเพศทุกวัยในชุมชน ที่มีคุณสมบัติในด้านสุขภาพอนามัย อายุขัย/ ด้านการศึกษาภูมิปัญญา ขีดความสามารถ/ ด้านฐานะทางเศรษฐกิจ ความยากจน ร่ำรวยของคนในครัวเรือน ความรู้ภูมิปัญญา
     2. ทุนสังคม (Social Capital) หมายถึง ทรัพยากรทางสังคมที่ประชาชนใช้เพื่อการดำรงชีพรวมทั้งความไว้เนื้อเชื่อใจ การยอมรับซึ่งกันและกัน ความเชื่อถือศรัทธา ตลอดจนวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน
     3.ทุนกายภาพ (Physical Capital) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต หรือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่สนับสนุนการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น การคมนาคมขนส่ง ระบบไฟฟ้า ประปา ระบบพลังงาน การสื่อสาร โทรคมนาคม โบราณวัตถุ โบราณสถาน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
     4. ทุนธรรมชาติ (Natural Capital) หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดศักยภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน แหล่งน้ำธรรมชาติเช่น ป่าไม้ ดิน น้ำ  ภูเขา ทะเล เกาะสัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน น้ำพุ พืชพันธุ์ธัญญาหาร



     การพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างแต่พื้นฐานในการพัฒนาจะต้องเริ่มจากชุมชน  คนในชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการกันเอง  เพราะคนในชุมชนนั้นๆจะรู้และเข้าใจถึงปัญหา  ความต้องการ  และทุนต่างๆ  ที่มีอยู่ภายในชุมชน  คนนอกเป็นเพียงผู้ช่วยส่งเสริมเท่านั้น  และรากฐานสำคัญที่จะนำชุมชนนั้นๆ  ให้ก้าวไปสู่ความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งได้นั้น  จะต้องเริ่มจากตัวคนในชุมชนก่อน  จะต้องเรียนรู้ว่าแต่ละคนในชุมชนมีคุณค่าที่ต่างกันไป  และทุกคนล้วนมีความสามารถมีภูมิปัญญาเป็นของตนเอง  ในชุมชนนั้นๆก็มีทุนชุมชน  ไม่ว่าจะเป็น  ทุนมนุษย์  ทุนความรู้  ทุนทรัพยากร  ทุนทางวัฒนธรรม  ทุนทางสังคม  ทุนเงินตรา  ฯลฯ  ซึ่งชุมชนนั้นๆจะต้องค้นหาเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชนและฝ่ายต่างๆ  เพื่อที่จะบริหารจัดการทุนชุมชน  ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์  มีความเหมาะสมต่อสภาพความเป็นอยู่  วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนนั้นๆ  ในชุมชนที่มีกระบวนการจัดการทุนชุมชนได้เหมาะสม  ชุมชนนั้นๆก็จะกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตนเองได้  เพราะเรียนรู้ที่จะจัดการทุนในชุมชนที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างเป็นงาน  อาชีพต่างๆ  และยังสามารถลดการพึ่งพาจากภายนอก   ชุมชนก็จะกลายเป็นชุมชนที่ยั่งยืน

รวมข้อมูลเว็บไซต์การเกษตร

เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าถึงข้อมูลได้หลายช่องทางและสามารถค้นคว้าข้อมูลตามต้องการเราจึงรวบรวมเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับข้อมูลการเกษตรเพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้ามาให้ท่านได้สืบค้นกัน


ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
www.thaiagro.com

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา
www.kasetkorat.ac.th

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
www.acfs.go.th

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
www.agro.cmu.ac.th

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษตร
www.sskcat.ac.th

DIT ระบบข้อมูลตลาด คลังสินค้าและห้องเย็น
http://mwsc.dit.go.th

บทความเกษตรพอเพียง
www.chalarwutfarmers.biogspot.com
ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรระบบต่างๆ ,วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพชุมชน
เว็บเพื่อการปลูกพืชไม่ใช้ดิน (Hydroponic)
http://www.hydrowork.net 

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่
www.pcat.ac.th

ขนำเกษตร_ฅนไทยส่งเสริม  
http://wta.siamindustry.com/data/tiw.html  
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ ในระบบเกษรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ กับผลิตผลปลอดสารพิษ (พืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ดอก นาข้าว)รวมถึงการปราบวัชพืช ศัตรูพืช แบบยั่งยืนด้วย สมุนไพร ไล่แมลง
ตลาดไทยอาสา
http://www.thaiasa.com  
สื่อกลาง ส่งเสริม การเกษตร การเกษตรแผนใหม่ เคล็ดลับ หรือวิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การเกษตร เพื่อเป็นข้อมูล ทางวิชาการที่ น่าสนใจ สำหรับสมาชิก หรือบุคคลทั่วไป ที่สนใจ, บุคคลสำคัญ ที่มีบทบาท ด้านการเกษตรกรรม, ข่าวความ เคลื่อนไหว จากชมรม ต่างๆ ที่มีกิจกรรม เกี่
ต้นไม้
http://come.to/tonmai 
บทความเกี่ยวกับ ต้นไม้ ความรู้ ด้านเกษตร และ แนะนำเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทรอบไรซ์
http://www.rdi.ku.ac.th/TropRice_th/index.htm
แหล่งข้อมูลด้านการประยุกต์ ไอที เพื่อ การเกษตร คำแนะนำในสภาพ ไร่ นา การจัดการ ปลูก ข้าว ในเขตร้อน รวมถึงระบบสนับสนุนต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ
ประมง 2000
http://www.pramong2000.com
ผู้ผลิตอุปกรณ์ การประมง ประเภท แห อุปกรณ์การจับ กุ้ง และ ให้ความรู้เกี่ยวกับ การทำนากุ้ง เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงปลากระพง
ปศุสัตว์ไทย
http://sutsart.hypermart.net 
วิธีการเลี้ยง สัตว์ เศรษฐกิจต่างๆ อาทิเช่น จิ้งหรีด สุกร จระเข้ นกกระจอกเทศ และ กวาง เป็นต้น, กระดานข่าว แลกเปลี่ยนความรู้ และ สาระอีกมากมาย
ปุ๋ยแห่งชาติ : แหล่งข้อมูลด้านการเกษตร
http://www.nfc.co.th/Html/body.htm 
รวมลิงค์ แหล่งข้อมูลด้าน การเกษตร และ หน่วยงาน ราชการ ด้านการเกษตร แนะนำ สินค้า เกี่ยวกับปุ๋ยเพื่อการเกษตร
พอเพียงดอทคอม นวัตกรรมชาวบ้าน
http://www.porpiang.com  
พอเพียงดอทคอม นวัตกรรมชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์
ระบบข้อมูลพืช และ สัตว์
http://thaifarmer.oae.go.th/enemymenu.html 
ข้อมูลเกี่ยวกับ โรค ปศุสัตว์ สุกร โคนม โรคแอนเทรกซ์ โรคอื่นๆ ของสัตว์ รวมถึงโรค และ ศัตรูพืช ทางการเกษตร
สมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทย
http://www.panmai.com/hsst
เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทาง วิชาการ พืชสวน และ วิชาการสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พืช สวน และ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ เรื่องพืชสวนในหมู่ นักวิชาการ นักธุรกิจ เกษตรกร และ ผู้สนใจทั่วไป
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
http://qsbg.thaigov.net
แหล่งข้อมูลข่าวสารทาง พฤกษศาสตร์ ในประเทศไทย โดยองค์การ สวนพฤกษศาสตร์ สำนัก นายก รัฐมนตรี
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร
http://www.itdoa.com 
นานาสาระความรู้ทางการเกษตร มีระบบสืบค้นข้อมูลพันธุ์พืชรับรองค้นหาผลงานวิจัยด้านการเกษตร ตั้งแต่ปี 2530 - 2541 ทำเนียบนามนักวิจัยข้อมูลเกี่ยวพืช แนะนำเกษตรอินทรีย์การเกษตรแปรรูป
แม่โจ้ดอทคอม
http://www.maejo.com  
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร การปลูกพืช ไม้ดอกไม้ประดับ และ สอบถามปัญหา การเกษตร
ทีมเกษตร
http://www.teamkaset.com
ความรู้เกี่ยวกับ การเกษตร ปุ๋ย หลักการใช้ ธาตุ อาหารเสริม พืชพ่นทาง ใบ กับ ไม้ผล วิธีการให้ อาหารเสริม พืช ทางดิน การให้ปุ๋ยพร้อมๆ กับระบบ น้ำ สาร ช่วยซึมซับเข้าสู่ใบพืช และ สารปรับสภาพน้ำ และ ตะกอนแขวนลอยในน้ำ ตลอดจนแนะนำ ผลิตภัณฑ์ สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพ

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)
        คือ การเกษตรที่ใช้หลักการพึ่งพิงความสมดุลตามธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวม เพื่อสร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศการเกษตรมีความยั่งยืน สามารถให้ผลผลิตที่ดีในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืนระยะยาวถึงชั่วลูกชั่วหลานผสมผสานระบบการเกษตรทุกระบบที่ส่งเสริมและปรับปรุง สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อผลิตอาหารและปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีพ ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

หลักการเกษตรอินทรีย์
หลักการทางด้านสุขอนามัย
เกษตรอินทรีย์ควรรักษาและเพิ่มพูนสุขอนามัยของ ดิน พืช สัตว์ มนุษย์  ซึ่งรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่แยกออกจากกัน

หลักการทางด้านนิเวศวิทยา
เกษตรอินทรีย์ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่มีการหมุนเวียนเป็นวงจร โดยใช้ประโยชน์ รักษาและเพิ่มพูน ให้มีความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

หลักการทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
เกษตรอินทรีย์ควรมีการจัดการบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและระมัดระวังในการปกป้องสุขภาพ และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

      แนวทางเกษตรอินทรีย์ได้รับการตอบรับทั่วโลกมีรูปแบบและแนวทางที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเกิดจากปัจจัย 4 ประการ คือ

ปัจจัยแรก คือ ความตระหนักถึงสุขภาพของประชาชนที่มีสาเหตุการเจ็บป่วย และเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งที่มีผลมาจากการบริโภคอาหารที่เป็นสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืชที่มีข้อมูลที่พิสูจน์ว่าส่วนใหญ่เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คนจำนวนมากเริ่มระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีสารตกค้างมากขึ้น โดยพยายามหาซื้อพืชผักที่ปลอดจากสารพิษซึ่งมีขายไม่มากในราคาที่สูงกว่าพืชธรรมดา ทำให้เกิดความต้องการผลผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

 ปัจจัยที่สอง ได้แก่ปัจจัยการผลิตการเกษตรที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้มีราคาสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผลผลิตการเกษตรไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นในสัดส่วนที่สมควร เกษตรกรจึงพยายามหาทางออกที่สามารถจะรอดพ้นจากสภาพการขาดทุนและหนี้สิน ในขณะเดียวกันกลุ่มขององค์กรเอกชนได้พัฒนา เกษตรกรรมทางเลือกที่เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการเกษตรที่ไม่จำเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ และสามารถปลดเปลื้องหนี้สินได้จำนวนมาก การเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันของเกษตรกรได้ทำให้การเกษตรทางเลือกเป็นหนทางนำสู่เกษตรอินทรีย์ได้ขยายออกไปมากขึ้นตามลำดับ

ปัจจัยที่สาม ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมที่ถูกปนเปื้อน จากสารพิษที่ใช้ในการเกษตรซึ่งมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นอาหารของประชาชนในชนบทได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งประสบการณ์การเกษตรเชิงเดี่ยวที่มีข้อมูลทางวิชาการจำนวนมากได้พิสูจน์ว่าเป็นสาเหตุของ การทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ และการเกิดศัตรูพืชระบาดมากขึ้น และเป็นต้นเหตุของการใช้สารเคมีที่เป็นพิษมากขึ้น และเป็นต้นเหตุของการใช้สารเคมีที่เป็นพิษมากขึ้น การเกษตรทางเลือกซึ่งเน้นการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์จึงได้รับการพัฒนาจนนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

ปัจจัยที่สี่ ความต้องการสินค้าอินทรีย์ของตลาดต่างประเทศที่เป็นคู่ค้ากับประเทศไทย เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ได้เพิ่มทวีมากขึ้น รวมทั้งราคาผลผลิตอินทรีย์ในตลาดต่างประเทศสูงกว่าราคาผลผลิตธรรมดาประมาณ 20-30 % จึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการส่งออกสินค้าการเกษตรและหน่วยราชการของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศ ได้มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์มากขึ้นในประเทศไทย

การทำเกษตรอินทรีย์ควรมีการจัดการ ดังนี้
การเลือกพื้นที่
1. ควรเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน
2. ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3  ปี
3. เลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดินเหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม
4.สังเกตจากพืชที่ขึ้นอยู่เดิม เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ไปทำการวิเคราะห์
การวางแผนจัดการ
1.วางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอก ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดนขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน ทั้งไม้ทรงสูง ทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลางต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำรอบแปลง
2.วางแผนป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกไร่นา
3.วางแผนระบบการปลูกพืช เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง
การเลือกพันธุ์ปลูก
1.คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรคแมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง
2.ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)
3.ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์
การปรับปรุงบำรุงดิน
1.เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)
2.ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
3.ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบสำหรับทำปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)
4.ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
5.ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
6.ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน  ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดคงจะเก็บตัวอย่างดินและส่งวิเคราะห์  โดยติดต่อสอบถามข้อมูลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องที่หมอดินประจำตำบลของท่าน

เกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่

ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูก ได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดไม่เพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
  ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
       พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ : ทำไมใหม่
        1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
        2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
        3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง 3 ขั้นตอน

เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
        ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง
   พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ
        พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
        พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
        พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ
หลักการและแนวทางสำคัญ
        1. เป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่าย
 2. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
        3. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ (รวมเป็น 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
        ดังนั้น หากมีพื้นที่ 15 ไร่ จึงมีสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
       - นา 5 ไร่
       - พืชไร่พืชสวน 5 ไร่
       - สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร จุประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น ปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
       - ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่
   รวมทั้งหมด 15 ไร่
       4. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน 30:30:30:10 ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
30% ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย)
30% ส่วนที่สอง ทำนา
30% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
10% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือหากพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้

เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า 

    เมื่อเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ฉะนั้น เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
        การเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน การผลิต การตลาด ความเป็นอยู่
การผลิต
        - เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
การตลาด
        - เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
ความเป็นอยู่
 - ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
สวัสดิการ
        - แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
การศึกษา
        - ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
 สังคมและศาสนา
        - ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
        กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
        เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
        ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
        - เกษตรกรผลผลิตได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
        - ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อผลิตผลหรืผลิตภัณฑ์ บริโภคในราคาต่ำ  เช่น ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง
        - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
        - ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ข้อควรพิจารณา
  1. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่นั้น มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นเกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย
        2. การขุดสระน้ำนั้น จะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้ เพราะสภาพดินในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ หรือเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกได้ ฉะนั้น จะต้องพิจารณาให้ดีและควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
        3. ขนาดของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดิน ถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ แต่ให้พึงเข้าใจว่าอัตราส่วนเฉลี่ยขนาดพื้นที่นี้มิใช่หลักตายตัว หากพื้นที่การถือครองของเกษตรกรจะมีน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถนำอัตราส่วนนี้ (30:30:30:10) ไปปรับใช้ได้
     4. การปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลา หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี เป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารสำหรับครอบครัวได้ และส่วนที่เหลือสามารถจำหน่ายได้เป็นรายได้แก่ครอบครัวได้อีก
        5. ความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จะเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติตามหลักทฤษฎีใหม่ เช่น การลงแรงช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกว่าการลงแขก นอกจากจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้อีกด้วย

        6. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้ต่างหาก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่าง ๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี ซึ่งอาจนำมาถมทำขอบสระน้ำหรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล