มาเป็นเกษตรกรปลอดสารเคมีกันดีกว่า


    ทำไมถึงต้องทำเกษตรปลอดสารเคมี  
      เพราะจะทำให้ดินที่ปลูกพืชได้ฟื้นฟูไม่เสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆถ้าดินเสื่อมจุลินทรีย์หมดไปแล้วพืชที่ปลูกก็ออกดอกออกผลไม่ดีดังที่หวัง แล้วจะมาใช้เวลา 5-10ปีในการฟื้นสภาพดินแบบนั้นหรือ ถ้าทำปลอดสารเคมีแล้วมาพึ่งอินทรีย์จะช่วยให้ต้นทุนลดลง กำไรเพิ่มขึ้น ที่สำคัญสารเคมีทำให้สุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคทรุดโทรมและมีโรคภัยต่างๆจากสารพิษตกค้าง 

     การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสีย อย่างการใส่ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ลงดิน ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินสูญหายตายจาก ดินที่ถูกผลาญไปนั้นสูญเสียความสามารถการดูดซับแร่ธาตุ พืชอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค ข้อบกพร่องเหล่านี้จะก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาทหรืออาจมากกว่า เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูก ทำให้การลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

    ถึงแม้การใช้สารเคมีจะได้ผลผลิตที่มากกว่า เห็นผลเร็วกว่า ลดความเสี่ยงจากโรคระบาดและแมลงด้วยสารเคมีที่อัดลงไปในการทำเกษตร แต่เมื่อมาคิดต้นทุนในการซื้อสารเคมีเหล่านั้นเทียบกับรายรับจากราคาผลิตผลที่ขายได้ ผมเชื่อว่าเหลือกำไรไม่มากหรืออาจไม่เหลือเลย ที่แย่ไปกว่านั้นท่านรู้หรือไม่ครับว่าเกษตรเคมีต้องแลกมาด้วยสุขภาพที่ทรุดโทรมและโรคร้ายของตัวเกษตรกรเอง ผมว่าไม่คุ้มค่ากันเลย

   ฉะนั้นผมคิดว่าเรามาทำเกษตรปลอดสารเคมีกันเถอะ ทางเลือกมันมีนั่นคือ "เกษตรอินทรีย์"  เป็นการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี ทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ โดยไม่ใช้เคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม การทำเกษตรอินทรีย์ช่วยให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนได้มาก ท่านอาจมองว่าการทำเกษตรอินทรีย์เห็นผลช้า ไม่ทันกินไม่ทันใช้ แต่รับรองว่าระยะยาวคุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ

 ** ทุกวันนี้มีการพัฒนาวิธีการทางชีวภาพสามารถผลิตปัจจัยการผลิตอินทรีย์ ที่ทำให้พืชมีพัฒนาการที่ไวและสามารถให้ผลผลิตจำนวนมากและมีคุณภาพ โดยใช้ระยะเวลาสั้นเพิ่มขึ้นมากมาย 




ทำการเกษตรอย่างไรให้รวย

      การเกษตรเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีประชากรทำการเกษตรเป็นจำนวนมากแต่ก็มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ เพราะปัญหาหนี้สินที่มาจากการกู้ยืมและส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจ ทีผ่านมาเกษตรกรของเราไม่รู้จักวิธีการจัดการเพื่อทำให้รายได้สูงกว่ารายจ่าย เมื่อขายไม่ได้ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินมา  เมื่อพืชผลเกิดปัญหาพวกเราไม่มีรายได้จากทางอื่นสำรอง ในฐานะที่เป็นทายาทเกษตรกรขอแชร์แนวทาง  การจัดการ การเพาะปลูก การลงทุน  นะครับ

   ต้องเริ่มจากการหาตลาด   

หลักๆเลยคือต้องรู้จักการหาตลาด ซึ่งก็มีการหาตลาดหลายวิธีเช่น

  • ออกสำรวจตลาด เริ่มจากใกล้บ้านก่อน สำรวจพืชที่จะขายมีราคาเท่าไหร่ แล้วเราจะใช้ทุนในการปลูกเท่าไหร่ มีพืชชนิดใดขาดตลาดบ่อยๆ
  • บริหารผลิตผล หลังจากสำรวจตลาดและเข้าใจแล้ว ต้องวิเคราะห์ว่าภายในพื้นที่เพาะปลูกเราจะผลิตพืชผลได้เท่าไหร่ จะจัดสรรพื้นที่แบ่งปลูกอย่างไร แนะนำว่าให้ปลูกพืชหลายชนิด นะครับ  เพราะเมื่อราคาชนิดหนึ่งตกเรายังมีพืชชนิดอื่นไว้ขายได้
  • กำหนดเป้าหมาย  เราจะเสนอขายกับใคร เช่น ขายแผงตลาดสดในตลาด หรือจะส่งให้พ่อค้าคนกลาง หรือจะเป็นพ่อค้าคนกลางเอง  ส่งตามร้านอาหาร ภัตตาคาร ตามห้าง แม้กระทั่งเปิดร้านค้าออนไลน์ คุณสามารถทำได้หมด
  • การนำเสนอสินค้า  ข้อนี้สำคัญมากจะเป็นตัวชี้ว่าผู้ซื้อจะเเลือกซื้อผลิตผลของเราหรือไม่  เราต้องเสนอว่าผลผลิตของเราดีอย่างไร(แต่ต้องศึกษาข้อมูลของผลิตผล การปลูกและการดูแลให้ดี  ให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพด้วยนะครับ)

          👉👉แนะนำเพิ่มเติมก่อนไปเสนอขายลองฝึกการเสนอที่หน้ากระจกก่อนก็ได้นะครับ จะได้มั่นใจและน่าเชื่อถือ ...แฮ่

  • ต้องมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ถ้าตกลงกันได้แล้ว ต้องส่งสินค้าให้สม่ำเสมอนะจ้ะ เพราะเวลาหาตลาดหายากมาก แต่ถ้าได้แล้วเราจะมีตลาดไว้รองรับตลอด เพราะฉะนั้นต้องมัดใจลูกค้าไว้ให้ได้

   การเพาะปลูก

จะปลูกอะไรควรมีการวางแผนก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียเปล่าทำแล้วขาดทุน  และที่สำคัญต้องรู้จักวิธีลดต้นทุน  สามารถสร้างผลิตผลในราคาต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพคงเดิมหรือดียิ่งขึ้น 
  • การวางแผนปลูก ควรเลือกปลูกพีชที่ไม่ตามกระแสอย่างเดียวอย่างที่เห็นทำกันในปัจจุบัน ที่ปลูกพืชตามกระแสแล้วผลก็ผิดคลาด ฉะนั้นต้องรู้ว่าช่วงไหนควรปลูกอะไร ผลลิตใดขายได้ในช่วงนั้นๆ  ซึ่งนั่นก็จะมาจากการสำรวจตลาดที่ได้กล่าวมาแล้ว
  • ทำไร่นาสวนผสม ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานดำริไว้เป็นวิธีการที่ช่วยเกษตรกรได้เป็นอย่างดี 
  • การลดต้นทุน ลองหาสูตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์มาใช้ดูค่อยๆศึกษาไป ซึ่งนำมาใช้แทนจากเดิมที่เราาต้องซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ในราคาแพง  ยังไงก็ลองหาสูตรเกษตรอินทรีย์มาใช้ดูนะครับ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้มาก
  • รู้จักแปรรูป  เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตผล ลองศึกษาและหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ฯลฯ อาจเป็นการช่วยเพิ่มรายได้อีกทาง

  การลงทุน

การลงทุนถ้าไม่จำเป็นไม่อยากต้องให้เป็นหนี้ นำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้แนวคิดเกษตรพอเพียงมาใช้กำกับนะครับ
  • หากต้องกู้ยืม ต้องมีเงินสำรอง 30-50% ของเงินที่จะกู้ยืม การทำการเกษตรไม่แน่นอนเสมอไปว่าจะได้กำไรพอที่จะจ่ายหนี้ทุกเดือน ทุกปี จึงจำเป็นต้องมีเงินสำรองเผื่อหักหนี้
  • มีเป้าหมายที่ลงทุนอย่างชัดเจน ต้องนำเงินที่กู้มานั้้นทำตามแผนที่วางไว้อย่างมีวินัย คำนึงความเสี่ยงที่จะเกิดและมีแนวทางแก้ไขไว้บ้าง
  • ไม่กู้ยืม ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทำข้อนี้ เก็บรายได้ไปทีละนิด วางแผนการลงทุน พอมีถึงจุดหนึ่งค่อยๆทยอยลงทุนเพิ่ม จะได้ตรงกับแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง"  มีกิน มีใช้ ไม่มีหนี้สิน 
   ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงแนวทางขอให้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวท่านเอง เพื่อเป็นการพัฒนาการเกษตรและเพื่อเป็นแนวทางให้รู้วิธีการจัดการ "ทำการเกษตรอย่างไรให้รวย"

การทำเกษตรอินทรีย์-เกษตรเคมี

เราลองมาดูกันครับว่าเกษตรอินทรีย์ - เกษตรเคมี เขามีหลักการและความต่างกัน อย่างไรบ้าง

เกษตรอินทรีย์

เกษตรเคมี

       - ใช้แนวคิดการเกษตรแบบองค์รวม
       - เน้นการผสมผสานให้เกิดความหลากหลายที่แต่ละกิจกรรมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
       - ใช้พันธุ์ที่คัดเลือกให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่แตกต่างกัน
       - เน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีในท้องถิ่น และใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ช่วยให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและลดต้นทุนการผลิต
       - ใช้แรงงานคน สัตว์ และเครื่องทุ่นแรงขนาดเล็ก ที่ประหยัดพลังงาน ใช้หลักการธรรมชาติในการจัดการศัตรูพืช การปรับปรุงดิน
       - มีเป้าหมายการผลิต เพื่อความยั่งยืนในระยะยาวทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร
       - ใช้หลักการและแนวคิดการเกษตรแบบแยกส่วน
       - เน้นการผลิตแบบเชิงเดี่ยว (mono culture) ที่เป็นพืชหรือสัตว์เศรษฐกิจชนิดเดียว ในลักษณะเกษตรอุตสาหกรรม
       - ใช้พันธุ์ที่ได้จากคัดเลือกโดยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
       - เน้นการเพิ่มผลผลิตจากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้จากภายนอก เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมน ฯลฯ
       - ใช้เครื่องทุ่นแรงจากพลังงานการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
       - มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีกำไรเป็นตัวเงินเป็นเครื่องชี้วัดผลสำเร็จ

               การทำเกษตรระบบต่างๆ ส่วนใหญ่เป้าหมายคือ ผลผลิต  แต่การจะเปรียบเทียบว่าระบบไหนดีไม่ดีอย่างไรควรวิเคราะห์ให้รอบด้าน โดยอยากให้เน้นไปที่ต้นทุนระยะสั้น ระยะยาว มากกว่าผลการผลิตเพราะหากลองเทียบกันดูระหว่างการทำเกษตรอินทรีย์กับเกษตรที่ใช้เคมี แล้วผมว่าผลการผลิตอาจแตกต่างกันไม่มาก แต่เมื่อเทียบกัน ด้านต้นทุน จะเห็นความแตกต่างกันชัดเจน เพราะฉะนั้นการทำเกษตรพอเพียง ในรูปแบบไหน ระบบต่างใด  จะว่าต้นทุนเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดก็ว่าได้

ปัญหาของเกษตรกรรมไทย

  ปัญหาของเกษตรกรที่เห็นชัดที่สุดคือ ความยากจน นอกจากเรื่องทุนภายในครอบครัว ปัญหาที่เกษตรกรต้องประสบก็มีอีกมากมายไม่ต่างกับการประกอบอาชีพอื่น ๆ แหละครับ เช่น การเข้าถึงแหล่งทุน ขาดความรู้ในด้านการเกษตร ขาดความเข้าใจในเรื่องปรับปรุงบำรุงดิน  ไม่สามารถทำให้ผลิตผลทางการเกษตรตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภค  ความเสี่ยงที่มาจากภัยธรรมชาติหรือฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง
 ที่สำคัญคือ ภาคการเกษตรของไทยตกอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงข้อมูลพื้นที่การเกษตรและจำนวนเกษตรกร จะพบว่าจำนวนเกษตรกรรายย่อยลดลง คนจนจากภาคเกษตรกรรมจะล้มละลาย และหันเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งเป็นแรงงานในภาคเกษตร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการพัฒนาประเทศ และการถดถอยของวิถีเกษตรกรรม
เมื่อพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ถือครองการเกษตรก็พบว่ามีแนวโน้มการลดพื้นที่ทำนาลง  ในทางกลับกันพื้นที่สำหรับการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ซึ่งรวมถึงยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น
         หากแนวโน้มการพัฒนาการเกษตรเป็นไปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และไม่มีการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างจริงจัง เชื่อว่าอีกไม่เกิน 30 ปี จำนวนเกษตรกรไทยจะเหลือน้อยลง เพราะเกษตรกรอิสระรายเล็กรายน้อยจะค่อยๆ เลิกไปหรือเปลี่ยนไปเป็นแรงงานรับจ้างในโรงงาน หรือเป็นแรงงานเกษตรรับจ้างในที่ดินที่เคยเป็นของตนเอง ที่ยังเหลืออยู่บ้างคงเป็นกลุ่มเกษตรกรพันธสัญญา
          อาจกล่าวได้ว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ภาคเกษตรกรรมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะที่เกษตรกรไทยยังคงเผชิญปัญหาความยากจนอันเกิดจากความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ปรากฏการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยในปัจจุบันนอกจากที่กล่าวข้างต้นมาแล้วยังมีอีกหลายประการ กล่าวคือ

1. ปัญหาด้านปัจจัยและฐานทรัพยากรการผลิต ทั้งเรื่องที่ดินทำกิน เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินทำกิน และเกษตรกรที่ยังมีที่ดินจำนวนมากแต่ละปีต้องสูญเสียที่ดินทำกินให้กับสถาบันการเงิน ปัญหาการเข้าไม่ถึงทรัพยากรการผลิต โดยเฉพาะน้ำ ทะเล ป่า และทรัพยากรพันธุกรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นฐานชีวิตของเกษตรกรและชาวประมงขนาดเล็ก รวมทั้งสิทธิเกษตรกรในด้านการเข้าถึงพันธุกรรมพืชและสัตว์ ยังไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้เกษตรกรรายย่อยขาดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต และพึ่งพิงตนเองไม่ได้
ปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อันเนื่องจากปัจจัยการผลิตมีฐานจากการใช้พลังงาน ต้นทุนปุ๋ย ยา แรงงานสูงขึ้น ฐานทรัพยากรอาหารลดลง และแม้ว่าปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผลผลิตทางการเกษตรจะมีราคาดี แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ไม่แน่ว่าจะส่งผลประโยชน์กลับมาที่เกษตรกร รวมทั้งราคาอาหารที่แพงขึ้นก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่สูงขึ้น และส่งผลลบต่อคนจนเมืองเช่นกัน
2. ปัญหาเรื่องสุขภาวะ ทุกฤดูการผลิตไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ พืชสวน หากได้ออกไปในไร่นาก็จะได้กลิ่นสารเคมีกำจัดหญ้ากำจัดแมลงทั่วทุกหนแห่ง เกิดผลกระทบทั้งเกษตรกรเองและผู้บริโภค เกษตรกรเองหนักกว่าเพื่อนเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงในฐานะเป็นผู้ใช้ยาและเป็นผู้บริโภคผลผลิตด้วย

3. ปัญหาเรื่องตลาด ตลาดเป็นของพ่อค้าแต่การลงทุนและความเสี่ยงเป็นของเกษตรกร เกษตรกรจึงไม่มีส่วนในการตัดสินใจกำหนดราคาตลาด ราคาผลผลิตการเกษตรจึงไม่เป็นธรรม ไม่แน่นอน ขึ้นๆ ลงๆ ตามอำนาจซื้อของพ่อค้าขณะที่ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้นโดยที่ไม่เคยลดลง

4. ปัญหาที่มาจากนโยบายพลังงาน และปัญหาอันเกิดจากการขาดแคลนน้ำมัน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตในภาคเกษตรกรรม เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกพืชน้ำมันทั้งหลาย และส่งผลกระทบในหลายมิติ เช่น
           • พื้นที่เกษตร เปลี่ยนเป็นพื้นที่พืชพลังงานและเป็นเชิงเดี่ยวมากขึ้น ปัญหาการใช้ที่ดินที่ถูกเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตร เช่น การปลูกมันหลังนา การปลูกยูคาบนคันนา ฯลฯ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากโครงสร้างการผลิตเปลี่ยนแปลง ตามโครงสร้างพลังงาน และนโยบายพลังงานจนส่งผลต่อภาคเกษตรกรรม
           • ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฐานอาหาร และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องจากการขยายตัวของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น และการบุกรุกพื้นที่ป่า  รวมทั้งการทิ้งของเสียจากโรงงานเอทานอล ฯลฯ ปัญหาที่ดินของเกษตรกรรายย่อย ปัญหาของชุมชนเกษตรกรรายย่อยกับฐานการผลิต ฐานทรัพยากรธรรมชาติ
           • ปัญหาพันธุกรรมพืช เช่น การที่พืชจีเอ็มโอจะเข้ามาทางพืชน้ำมัน

           • ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร จากการเปลี่ยนแปลงวิถีเกษตรกรรม จำนวนเกษตรกรรายย่อยลดลง เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ เกษตรกรจำนวนมากไม่ได้ทำเกษตรเกษตรกร  ไม่ได้มีชีวิตอยู่บนฐานเศรษฐกิจของการเกษตร ปัญหาความมั่นคงทางอาหารมิได้มีปัญหาเฉพาะต่อชุมชนเกษตรกร แต่จะส่งผลกระทบต่อประชากรทั้งประเทศ

การฟื้นชีวิตให้กับดิน

หลายคนมองว่าดินเป็นเพียงที่หยั่งยึดรากพืช หรือเป็นเพียงแหล่งอาหารสำหรับพืช แต่ที่จริงแล้ว ดินเองก็มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นอยู่ในดินตลอดเวลา ในดิน 1 กรัม (น้อยกว่าหนึ่งหยิบมือ) มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากถึงหลายพันล้านตัว โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือจุลินทรีย์ แต่ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมายเช่น แมลงไส้เดือนสัตว์ขนาดเล็ก และรากพืช สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศดิน ทั้งในแง่ของการทำให้ดินร่วนซุยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมัส หรือเปลี่ยนธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนเป็นแหล่งอินทรีย์วัตถุเองเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายลง

ตาราง  สิ่งมีชีวิตในดิน
สิ่งมีชีวิต
จำนวน
อาหาร
บทบาทในนิเวศดิน
จุลินทรีย์
120 ล้าน – 1,200 ล้าน ต่อดินหนึ่งกรัม
อินทรียวัตถุธาตุอาหารในดิน
ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุตรึงไนโตรเจนปลดปล่อยฟอสเฟตจากดิน
แมลง
หนึ่งพัน-หนึ่งแสนตัว ในดินหนึ่งตารางเมตร
พืชและสัตว์ขนาดเล็กแมลงรากพืชซากพืชอินทรีย์วัตถุ
พรวนดินและผสมดิน เมื่อตายก็จะเป็นอินทรีย์วัตถุ แต่อาจเป็นศัตรูพืชด้วย
ไส้เดือน
30-300 ตัว ในดินหนึ่งตารางเมตร
อินทรีย์วัตถุ
พรวนดินและผสมดิน มูลมีธาตุอาหารมาก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ไม่แน่นอน
ไส้เดือนแมลง
พรวนดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุ
รากพืช
18 – 1,000 กิโลกรัม/ไร่
สังเคราะห์แสงธาตุอาหาร
เก็บกักน้ำหมุนเวียนธาตุอาหารจากดินลึกชั้นล่างซากพืชเป็นอินทรีย์วัตถุ

สิ่งมีชีวิตในดินเป็นกุญแจสำคัญของการฟื้นฟูบำรุงดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ช่วยทำหน้าที่ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ สิ่งมีชีวิตในดินเหล่านี้ต้องการอาหารน้ำ และอากาศ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้นแนวทางหลักในการฟื้นชีวิตให้กับดิน คือ
    1) อาหาร
แหล่งอาหารสำคัญของสิ่งมีชีวิตในดินก็คือ อินทรีย์วัตถุ แต่การใส่อินทรีย์วัตถุมีข้อพึงพิจารณาดังต่อไปนี้
• ดินควรมีอินทรีย์วัตถุ โดยมีสัดส่วนของคาร์บอน : ไนโตรเจน ประมาณ 25-30 : 1 ซึ่งปุ๋ยหมักที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์แล้วจะมีสัดส่วนคาร์บอน : ไนโตรเจนตามที่ต้องการ
• ในกรณีที่ใช้อินทรีย์วัตถุที่มีคาร์บอนมาก (เช่น ขี้เลื่อย) เมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุประเภทนี้ จุลินทรีย์อาจดึงไนโตรเจนจากดินเพื่อใช้ในการย่อย ซึ่งจะทำให้ดินมีปัญหาขาดไนโตรเจนได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใส่อินทรีย์วัตถุประเภทนี้ในขณะที่ปลูกพืชหรือในช่วงที่พืช กำลังต้องการไนโตรเจน เพราะจะทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุไนโตรเจน หรือมิฉะนั้นก็ควรใส่อินทรีย์วัตถุที่มีไนโตรเจนสูงให้กับดินควบคู่กันไป ด้วย
• เกษตรกรต้องเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตในดินอย่างต่อเนื่องทุกปี
    2) อากาศ
อากาศเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด อาจมีจุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่ต้องการอากาศ แต่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ส่วนใหญ่ต้องการอากาศในการดำรงชีพแทบทั้งสิ้น ส่วนสิ่งมีชีวิตในดินอื่นก็ต้องการอากาศในการหายใจรวมถึงรากพืชด้วย ในดินที่ขาดอากาศนั้นรากพืชก็จะไม่เจริญเติบโตหรือตายลง ทำให้ต้นพืชขาดอาหารและอาจตายได้ในที่สุด
    ในดินจะมีอากาศได้ ดินต้องโปร่งและร่วนซุย แนวทางในการทำให้ดินโปร่งและร่วนซุย คือ
- ไม่ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในบริเวณแปลงปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง
- เพิ่มเติมอินทรีย์วัตถุให้กับดิน หรือใช้ปุ๋ยหมักที่มีฮิวมัสสูง เพราะฮิวมัสมีส่วนสำคัญในการทำให้ดินโปร่งและร่วนซุย
    3) น้ำ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำในการเจริญเติบโต ปริมาณน้ำในดินเพียงเล็กน้อย (แค่เพียงแผ่นฟิลม์บางๆ เคลือบเม็ดดิน) ก็เพียงพอต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในดิน
    เมื่อฟื้นชีวิตให้กับดินแล้ว ต้นไม้จะแข็งแรง ปัญหาโรคและแมลงก็จะน้อยลง ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
• ดินดีทำให้ต้นไม้ได้ธาตุอาหารครบถ้วน ไม่ใช่มีธาตุอาหารแต่เพียงบางอย่างมากเกินไป เปรียบเสมือนคนที่บริโภคเฉพาะอาหารโปรตีนหรือไขมันมาก แม้จะมีชีวิตอยู่ได้แต่สุขภาพก็จะไม่แข็งแรง พืชที่ได้รับธาตุอาหารไนโตรเจนมากเกินไปก็เช่นกัน พืชจะมีลำต้นอวบแต่ไม่แข็งแรง ทำให้โรคแมลงระบาดได้โดยง่าย
• เชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์จะปล่อยสารบางอย่างออกมา เหมือนเป็นวัคซีนให้พืช ซึ่งทำให้ต้นไม้แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย

• ดินที่มีชีวิตคือ มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ซึ่งจะป้องกันไม่ให้มีโรคและแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งระบาดรุนแรง โดยปกตินั้นธรรมชาติต้องมีความหลากหลายสูงจึงอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อเราปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งก็เท่ากับลดความหลากหลายทางชีวภาพของระบบ นิเวศลง ซึ่งทำให้โรคและแมลงระบาด เพราะธรรมชาติพยายามเพิ่มความหลากหลายด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (โรคและแมลง) และขณะเดียวกันปริมาณพืชที่ปลูกก็ลดลงเนื่องจากโรคและแมลง เพื่อสร้างภาวะสมดุลใหม่ขึ้นมาแทน ดังนั้นการระบาดของโรคและแมลงจึงเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงปัญหาความไม่สมดุลของ ความหลากหลายของนิเวศเกษตร แต่ถ้าเราทำดินให้อุดมสมบูรณ์ก็เท่ากับเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน ดิน การระบาดของโรคและแมลงก็จะน้อยลง

การฟื้นฟูดิน

หลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และสมดุล ทั้งนี้เพราะเกษตรอินทรีย์ถือว่า “ถ้าดินดี พืชย่อมแข็งแรงและสมบูรณ์” ซึ่งการปรับปรุงดินในแนวทางเกษตรอินทรีย์นี้จะใช้แนวทางชีวภาพเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูบำรุงดินและปรับปรุงสมดุลของธาตุอาหารใน ดินไปพร้อมกัน ในการปรับปรุงดินด้วยชีววิธีนี้มีหลายวิธี อาทิ การจัดการอินทรีย์วัตถุในไร่นา (เช่น การไม่เผาฟาง), การจัดการใช้ที่ดินอย่างอนุรักษ์ (เช่น การป้องกันดินเค็ม หรือการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน) หรือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ


   ความสำคัญของดินต่อการเกษตรเป็นเรื่องที่ตระหนักรับรู้กันมานาน ภูมิปัญญาพื้นบ้านมีวิธีการในการจำแนกและวิเคราะห์ดิน ตลอดจนการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรแต่ละประเภท ความสำคัญของดินต่อการเพาะปลูกนั้นไม่เพียงเพราะว่า ดินเป็นจุดศูนย์กลางของวงจรธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจนและคาร์บอน แต่ยังรวมถึงการที่ดินเป็นแหล่งกำเนิดและที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมากมายมหาศาล ตลอดจนปัญหาความไม่ยั่งยืนของการเกษตรมีสาเหตุมาจากความเสื่อมโทรมของดิน เป็นสำคัญ ดังนั้นการจัดการดินอย่างถูกต้องจึงเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ในบทนี้จึงได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับดิน ตลอดจนแนวทางการจัดการดินในระบบเกษตรอินทรีย์


การฟื้นฟูดิน


องค์ประกอบที่สำคัญของดินสำหรับการเกษตรมีอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ เม็ดดิน, น้ำ, อากาศ และอินทรีย์วัตถุ ในการปรับปรุงบำรุงดินนั้นเกษตรกรคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเม็ดดินได้มากนัก สิ่งที่เกษตรกรสามารถจัดการได้ก็คงมีเพียงแต่น้ำ, อากาศ และอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งการจัดการอินทรีย์วัตถุนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะอินทรีย์วัตถุเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดช่องว่าง(อากาศ) ในดิน และความสามารถในการเก็บกักน้ำของดิน ) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ปริมาณอินทรีย์วัตถุจะถูกใช้เป็นดัชนีสำคัญในการ บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยดินที่ดีจะมีอินทรีย์วัตถุประมาณ 5%

ดินในฟาร์มเกษตรของประเทศเขตร้อนโดยส่วนใหญ่เป็นดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีปริมาณอินทรีย์วัตถุน้อยกว่า 1% ทำให้ดินอัดแน่น ไม่มีช่องว่างอากาศสำหรับให้รากพืชหายใจ อีกทั้งยังมีความสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชน้อย แนวทางการปรับปรุงดินด้วยการใช้อินทรีย์วัตถุและการฟื้นชีวิตให้กับดินจึงเป็นสิ่งจำเป็น
  

อินทรีย์วัตถุในดินและฮิวมัส

  อินทรีย์วัตถุในดินแบ่งออกได้เป็นอินทรีย์วัตถุที่ยังมีชีวิตและที่ไม่มี ชีวิต โดยกว่า 90% ของอินทรีย์วัตถุในดินเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, ซากจุลินทรีย์ และอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้ว หรือ ที่เรียกรวมๆ กันว่า “ฮิวมัส” ฮิวมัสยังสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ฮิวมัสทั่วไป และฮิวมัสเสถียร ซึ่งอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสจะมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่าง

ตาราง เปรียบเทียบ อินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดิน
 หน้าที่
อินทรียวัตถุ
ฮิวมัสทั่วไป
ฮิวมัสเสถียร
แหล่งที่มา
เศษซากพืชและสัตว์
การสลายตัวของอินทรียวัตถุ
การสลายตัวของฮิวมัสทั่วไปและอินทรียวัตถุ
หน้าที่กายภาพ
ทำให้ดินโปร่ง อากาศไหลเวียนดีระบายน้ำดีเก็บความชื้น
พัฒนาโครงสร้างดิน และปรับปรุงดินให้เก็บน้ำได้ดีและจับตัวเป็นก้อน
พัฒนาโครงสร้างดิน และปรับปรุงดินให้เก็บน้ำได้ดีและจับตัวเป็นก้อน
หน้าที่ทางเคมี
ให้ธาตุอาหารที่ละลายน้ำได้ โดยเฉพาะปุ๋ยคอก
ปล่อยธาตุอาหารให้พืชเก็บธาตุอาหารส่วนเกินไว้ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที,ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหาร
เก็บธาตุอาหารไว้ในระยะยาวให้กับพืชช่วยดูดซับสารพิษในดินเอาไว้
หน้าที่ทางชีววิทยา
เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ย่อยอินทรีย์ วัตถุแต่ถ้ามีคาร์บอนมากไปอาจกระตุ้นจุลินทรีย์บางชนิดให้ขยายตัวมาก และแย่งธาตุอาหารจากพืช
เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ย่อยอินทรีย์วัตถุ ปล่อยวิตามินฮอร์โมนสารปฎิชีวนะ และสารชีวนะอื่นๆ ให้พืช
เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน


ในบรรดาอินทรีย์วัตถุทั้งหมด สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูดินในระบบเกษตรอินทรีย์ก็คือ ฮิวมัส ทั้งนี้ก็เพราะว่าฮิวมัสมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน เช่น

* ฮิวมัสช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินและดินอัดตัวแน่นเกินไป
ดินที่มีฮิวมัสน้อย เม็ดดินจะเป็นฝุ่นละเอียด เมื่อฝนตกลงมาเม็ดดินจะกระแทกกับหน้าดิน ทำให้เม็ดดินขนาดเล็กแยกตัวผสมกับน้ำกลายเป็นโคลน เมื่อน้ำฝนไหลลงสู่ที่ต่ำก็จะพัดพาโคลนหรือตะกอนดินตามไปด้วย เมื่อตะกอนดินไหลไปที่อื่น หน้าดินซึ่งถูกชะล้างจึงขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะตะกอนดินมีธาตุอาหารอยู่มาก แต่ดินที่มีฮิวมัส เม็ดดินขนาดเล็กจะจับตัวกันได้ดี ไม่แตกย่อยเมื่อถูกฝน และขณะเดียวกันดินก็ไม่อัดกันจนแน่นเกินไป
ดินเหนียวมักอัดตัวกันแน่น ทำให้รากพืชไม่สามารถชอนไชไปหาอาหารได้ดี แต่ฮิวมัสจะทำให้ดินร่วนและโปร่งขึ้น ช่วยให้น้ำและอากาศซึมผ่านลงดินได้ ส่วนดินทรายก็เช่นกัน ฮิวมัสจะช่วยให้ดินทรายจับตัวเป็นก้อน ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำและเก็บกักธาตุอาหารไว้มิให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปจน หมด

* ฮิวมัสช่วยป้องกันภัยแล้ง
ดินที่มีฮิวมัสจากปุ๋ยหมักสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนมาก ประมาณว่าปุ๋ยหมัก 10 กิโลกรัม สามารถเก็บน้ำได้ 19.66 ลิตร ซึ่งน้ำที่เก็บไว้จะอยู่ในรูปของฟิล์มบางๆ บนก้อนดิน ในช่วงฝนแล้งรากพืชจะดูดน้ำจากฟิล์มที่ผิวก้อนดินไปใช้ ทำให้พืชไม่ขาดน้ำ

* ฮิวมัสช่วยเก็บแร่ธาตุ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
ฮิวมัสที่มีขนาดเล็กนี้จะมีประจุขั้วลบซึ่งจะดักจับแร่ธาตุที่มีประจุขั้ว บวกได้ดี เช่น โปแตสเซียม, โซเดียม,แคลเซียม, แมกนีเซียม, เหล็ก และทองแดง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาช้าๆ ในอัตราพอดีกันกับที่พืชจะนำไปใช้ ในดินที่ไม่มีฮิวมัสนั้นธาตุอาหารจะไหลลงสู่ชั้นดินลึกด้านล่างที่รากพืช หยั่งลงไปไม่ถึง หรือไม่ก็ถูกพัดพาไปพร้อมกับน้ำ ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

* ฮิวมัสช่วยลดสารพิษในดิน
กรดอินทรีย์ในฮิวมัสจะทำปฏิกริยาเคมีจับตัวกับธาตุที่อาจเป็นพิษกับพืช เช่น อลูมิเนียม และเหล็ก ทำให้สารพิษไม่ทำอันตรายกับต้นไม้ นอกจากนี้กรดอินทรีย์ของฮิวมัสจะดักจับโลหะหนักได้เช่นเดียวกัน ทำให้โลหะหนักไม่ถูกพืชดูดซึมไปใช้

* ฮิวมัสช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
ฮิวมัสและสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุมีส่วนช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของพืชในการดูดซึมวิตามิน วิตามิน-อนาล็อกส์ และออกซิเจน

* สารอินทรีย์ทำให้สีของใบ ดอก และผลไม้สวยขึ้น
สารให้สีที่เป็นสารคลอโรฟิล และสีของดอกไม้, ผลไม้มีองค์ประกอบจากสารในดินและอากาศ ดินที่มีสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุมากจะช่วยให้พืชมีสาร องค์ประกอบของสารให้สีอย่างพอเพียงจึงทำให้สีของใบไม้ ดอกไม้ รวมทั้งผลไม้สวยงามขึ้น

ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์

         ปุ๋ยอินทรีย์

การทำการเกษตรติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอย่างเพียงพอหรือปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินน้อยกว่าอัตราการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดิน ความลาดเทของพื้นที่ และประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินสูง และการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกหลักการอนุรักษ์ดิน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยหลักที่ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินลดลงอย่างรวดเร็ว  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ดิน จึงเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยยกระดับของอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มธาตุอาหารพืชสะสมไว้ในดิน ซึ่งเป็นวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ในขั้นต้น
ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยทำจากวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน(บางประเภท) มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ และแร่ธาตุต่าง ๆ นำมาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก กลับกอง จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

ความหมายของปุยอินทรีย์

ปุยอินทรีย์(Organic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเปนสารอินทรีย์ที่ไดมาจากสิ่งมีชีวิต  เช่น ปุยคอก ปุยหมัก  ปุ๋ยพืชสด ซากพืช หรือสัตวที่ไถกลบลงดิน รวมถึงพวกอินทรียสารที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เชน กากตะกอนอ้อย (filter cake) ทะลายปาลม เป็นต

หนาที่หลักของปุ๋ยอินทรียคือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ได้แกการทําให้ดินโปรงร่วนซุย ใหธาตุอาหารพืชค่อนขางครบถ้วนและสมดุลดี ทั้งธาตุอาหารหลักและจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม แตส่วนใหญจะม็ธาตุอาหารหลักอยู่ในปริมาณต่ำ เกษตรกรจําเป็นต้องใชในประมาณค่อนขางสูงมาก เมื่อใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีการใสรวมกับปุ๋ยเคมี และหนาที่ที่สําคัญมากอีกประการหนึ่ง ก็คือทําใหดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น

หน้าที่ของอินทรียวัตถุในดินและประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

หน้าที่ของอินทรียวัตถุในดิน

หน้าที่ของอินทรีย์วัตถุในดิน ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ประการ ดังนี้
1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดิน โดยช่วยทําให้ดินโปร่งพรุน อากาศในดินถ่ายเทได้สะดวก น้ำไม้ขัง ลดการไหลบ่าของหน้าดิน และช่วยลดการสูญเสียหน้าดิน รวมทั้งช่วยทําให้จุลินทรีย์ดินมีการเจริญเติบโตและมีกิจกรรมต่อเนื่อง ทําให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ทําให้ดินไม่แน่นทึบ และดินไม่ร้อน
 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านธาตุอาหารและความเป็นกรดด่างของดิน โดยช่วยเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุประจุบวกให้แก่ดิน อินทรียวัตถุ   ช่วยเพิ่มความสามารถในการสรรหาและปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช ช่วยควบคุมหรือลดการละลายได้ของแร่ธาตุบางชนิดในดิน  เช่น อะลูมิเนียม (Al) และเหล็ก (Fe)โดยเฉพาะในดินที่เป็นกรดจัด ช่วยเพิ่มความเป็น ประโยชน์ได้ของธาตุอาหารพืชที่สําคัญ เช่น ฟอสฟอรัส (P) และโมลิบดีนั่ม (Mo) หรือช่วยลดการถูกตรึงยึดติดไว้ของดินกับธาตุอาหารพืชบางตัว     ทําให้พืชนําธาตุอาหารไปใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดินมีสภาพเป็นกรดจัด อินทรียวัตถุช่วยเปลี่ยนแปลงทําให้ธาตุอาหารพืชอยู่ในสภาพที่พืช สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้
3 การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ (การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในดิน) โดยอินทรียวัตถุช่วยกระตุ้นการทํางานหรือกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินหรือสัตว์เล็กๆในดิน ช่วงระหว่างขบวนการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ ทําให้การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในดินดีขึ้น เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดจากการกระทําของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดินดีขึ้น   รวมทั้งช่วยทําให้สภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินดีขึ้นด้วย
คุณสมบัติของอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นในดินทั้ง 3 ประการนี้ จะเกิดขึ้นอย่างผสมกลมกลืนและต่อเนื่องกันตลอดเวลา อย่างไรก็ตามอัตราเร่งของการสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ หรือประโยชน์ที่จะได้จากอินทรียวัตถุในดินจะขึ้นกับชนิดและปริมาณของวัสดุอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ จุลินทรีย์ดิน และอุณหภูมิของดินต่าง ๆ  เป็นต้น

 ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว เป็นวัสดุที่ค่อนข้างทนทานต่อการย่อยสลายพอสมควร ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จึงสลายตัวได้ช้า ไม่รวดเร็ว เหมือนกับการไถกลบเศษพืชโดยตรง ซึ่งก็นับว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยอินทรีย์ เพราะทำให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้เป็นระยะเวลานานๆ ปุ๋ยอินทรีย์บางส่วนจะคงทนอยู่ในดินได้นานเป็นปี แต่ก็มีบางส่วนที่ ถูกย่อยสลายไป ในการย่อยสลายนี้จะมีแร่ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากปุ๋ยอินทรีย์ให้พืชได้ไช้อยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ถูกปลดปล่อย ออกมาตลอดเวลาและสม่ำเสมอ
คุณประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.ประโยชน์ต่อพืช
 ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพหรือลักษณะของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ถ้าดินนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายน้ำ ระบายอากาศดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ หรือดูดซับน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น คุณสมบัติในข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของปุ๋ยอินทรีย์ เพราะที่ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีนั้น จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหารหรือน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนื้อหยาบ เช่นดินทราย ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรียวัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มน้ำ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านั้นสามารถอุ้มน้ำ หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้
มากกว่าปกติ
 นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ทำให้การงอกของเมล็ดหรือการซึมของน้ำลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป เป็นต้น
2. ประโยชน์ต่อดิน
ในแง่ของการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ำได้ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหาร
3. ประโยชน์ต่อสัตว์

   โดยปกติไส้เดือนดินชอบอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง รวมถึงในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุจำนวนมากเพราะไส้เดือนดินนั้น จะไม่กินของมีชีวิต แต่จะเข้าย่อยสารอินทรีย์ที่เริ่มเน่าเปื่อย โดยเฉพาะสารอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง เช่น ในขยะอินทรีย์หรือเศษอาหารจากตลาดหรือจากชุมชนไม่แปลกที่จะพบเห็นไส้เดือนดินจำนวนมากในบริเวณใต้กองเศษพืช กองปุ๋ยคอก ที่กำลังเน่า หรือแม้แต่ปุ๋ญอินทรีย์ซึ่งช่วยให้ดินมีการปรับปรุงอย่างถาวร และเป็นเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่ง