ทุนชุมชน

ทุนชุมชน (ทุนที่ไม่ใช่เงิน)  Written by Administrator

                

    ทุนที่ไม่ใช่เงิน หมายถึง สิ่งที่เป็นมูลค่าหรือมีคุณค่าที่มิใช่เงินตรา แต่หมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน เช่น ทุนทรัพยากรที่ก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ของคน ทุนทางสังคม วัฒนธรรมประเพณีปัจจัยบริการทางโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น กรมการพัฒนาชุมชนได้จำแนกประเภทของ ทุน” ออกเป็น 2 ส่วน คือ ทุนการเงิน และทุนที่ไม่ใช่เงิน ในส่วนของทุนที่ไม่ใช่เงิน จำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่

     1.ทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึง คุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของคนทุกเพศทุกวัยในชุมชน ที่มีคุณสมบัติในด้านสุขภาพอนามัย อายุขัย/ ด้านการศึกษาภูมิปัญญา ขีดความสามารถ/ ด้านฐานะทางเศรษฐกิจ ความยากจน ร่ำรวยของคนในครัวเรือน ความรู้ภูมิปัญญา
     2. ทุนสังคม (Social Capital) หมายถึง ทรัพยากรทางสังคมที่ประชาชนใช้เพื่อการดำรงชีพรวมทั้งความไว้เนื้อเชื่อใจ การยอมรับซึ่งกันและกัน ความเชื่อถือศรัทธา ตลอดจนวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน
     3.ทุนกายภาพ (Physical Capital) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต หรือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่สนับสนุนการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น การคมนาคมขนส่ง ระบบไฟฟ้า ประปา ระบบพลังงาน การสื่อสาร โทรคมนาคม โบราณวัตถุ โบราณสถาน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
     4. ทุนธรรมชาติ (Natural Capital) หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดศักยภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน แหล่งน้ำธรรมชาติเช่น ป่าไม้ ดิน น้ำ  ภูเขา ทะเล เกาะสัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน น้ำพุ พืชพันธุ์ธัญญาหาร



     การพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างแต่พื้นฐานในการพัฒนาจะต้องเริ่มจากชุมชน  คนในชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการกันเอง  เพราะคนในชุมชนนั้นๆจะรู้และเข้าใจถึงปัญหา  ความต้องการ  และทุนต่างๆ  ที่มีอยู่ภายในชุมชน  คนนอกเป็นเพียงผู้ช่วยส่งเสริมเท่านั้น  และรากฐานสำคัญที่จะนำชุมชนนั้นๆ  ให้ก้าวไปสู่ความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งได้นั้น  จะต้องเริ่มจากตัวคนในชุมชนก่อน  จะต้องเรียนรู้ว่าแต่ละคนในชุมชนมีคุณค่าที่ต่างกันไป  และทุกคนล้วนมีความสามารถมีภูมิปัญญาเป็นของตนเอง  ในชุมชนนั้นๆก็มีทุนชุมชน  ไม่ว่าจะเป็น  ทุนมนุษย์  ทุนความรู้  ทุนทรัพยากร  ทุนทางวัฒนธรรม  ทุนทางสังคม  ทุนเงินตรา  ฯลฯ  ซึ่งชุมชนนั้นๆจะต้องค้นหาเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชนและฝ่ายต่างๆ  เพื่อที่จะบริหารจัดการทุนชุมชน  ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์  มีความเหมาะสมต่อสภาพความเป็นอยู่  วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนนั้นๆ  ในชุมชนที่มีกระบวนการจัดการทุนชุมชนได้เหมาะสม  ชุมชนนั้นๆก็จะกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตนเองได้  เพราะเรียนรู้ที่จะจัดการทุนในชุมชนที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างเป็นงาน  อาชีพต่างๆ  และยังสามารถลดการพึ่งพาจากภายนอก   ชุมชนก็จะกลายเป็นชุมชนที่ยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น: