ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์

         ปุ๋ยอินทรีย์

การทำการเกษตรติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอย่างเพียงพอหรือปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินน้อยกว่าอัตราการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดิน ความลาดเทของพื้นที่ และประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินสูง และการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกหลักการอนุรักษ์ดิน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยหลักที่ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินลดลงอย่างรวดเร็ว  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ดิน จึงเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยยกระดับของอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มธาตุอาหารพืชสะสมไว้ในดิน ซึ่งเป็นวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ในขั้นต้น
ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยทำจากวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน(บางประเภท) มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ และแร่ธาตุต่าง ๆ นำมาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก กลับกอง จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

ความหมายของปุยอินทรีย์

ปุยอินทรีย์(Organic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเปนสารอินทรีย์ที่ไดมาจากสิ่งมีชีวิต  เช่น ปุยคอก ปุยหมัก  ปุ๋ยพืชสด ซากพืช หรือสัตวที่ไถกลบลงดิน รวมถึงพวกอินทรียสารที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร เชน กากตะกอนอ้อย (filter cake) ทะลายปาลม เป็นต

หนาที่หลักของปุ๋ยอินทรียคือ การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ได้แกการทําให้ดินโปรงร่วนซุย ใหธาตุอาหารพืชค่อนขางครบถ้วนและสมดุลดี ทั้งธาตุอาหารหลักและจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม แตส่วนใหญจะม็ธาตุอาหารหลักอยู่ในปริมาณต่ำ เกษตรกรจําเป็นต้องใชในประมาณค่อนขางสูงมาก เมื่อใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีการใสรวมกับปุ๋ยเคมี และหนาที่ที่สําคัญมากอีกประการหนึ่ง ก็คือทําใหดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น

หน้าที่ของอินทรียวัตถุในดินและประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

หน้าที่ของอินทรียวัตถุในดิน

หน้าที่ของอินทรีย์วัตถุในดิน ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ประการ ดังนี้
1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของดิน โดยช่วยทําให้ดินโปร่งพรุน อากาศในดินถ่ายเทได้สะดวก น้ำไม้ขัง ลดการไหลบ่าของหน้าดิน และช่วยลดการสูญเสียหน้าดิน รวมทั้งช่วยทําให้จุลินทรีย์ดินมีการเจริญเติบโตและมีกิจกรรมต่อเนื่อง ทําให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ทําให้ดินไม่แน่นทึบ และดินไม่ร้อน
 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านธาตุอาหารและความเป็นกรดด่างของดิน โดยช่วยเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุประจุบวกให้แก่ดิน อินทรียวัตถุ   ช่วยเพิ่มความสามารถในการสรรหาและปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช ช่วยควบคุมหรือลดการละลายได้ของแร่ธาตุบางชนิดในดิน  เช่น อะลูมิเนียม (Al) และเหล็ก (Fe)โดยเฉพาะในดินที่เป็นกรดจัด ช่วยเพิ่มความเป็น ประโยชน์ได้ของธาตุอาหารพืชที่สําคัญ เช่น ฟอสฟอรัส (P) และโมลิบดีนั่ม (Mo) หรือช่วยลดการถูกตรึงยึดติดไว้ของดินกับธาตุอาหารพืชบางตัว     ทําให้พืชนําธาตุอาหารไปใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดินมีสภาพเป็นกรดจัด อินทรียวัตถุช่วยเปลี่ยนแปลงทําให้ธาตุอาหารพืชอยู่ในสภาพที่พืช สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้
3 การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ (การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในดิน) โดยอินทรียวัตถุช่วยกระตุ้นการทํางานหรือกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินหรือสัตว์เล็กๆในดิน ช่วงระหว่างขบวนการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ ทําให้การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในดินดีขึ้น เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดจากการกระทําของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดินดีขึ้น   รวมทั้งช่วยทําให้สภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินดีขึ้นด้วย
คุณสมบัติของอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นในดินทั้ง 3 ประการนี้ จะเกิดขึ้นอย่างผสมกลมกลืนและต่อเนื่องกันตลอดเวลา อย่างไรก็ตามอัตราเร่งของการสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ หรือประโยชน์ที่จะได้จากอินทรียวัตถุในดินจะขึ้นกับชนิดและปริมาณของวัสดุอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ จุลินทรีย์ดิน และอุณหภูมิของดินต่าง ๆ  เป็นต้น

 ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว เป็นวัสดุที่ค่อนข้างทนทานต่อการย่อยสลายพอสมควร ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จึงสลายตัวได้ช้า ไม่รวดเร็ว เหมือนกับการไถกลบเศษพืชโดยตรง ซึ่งก็นับว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยอินทรีย์ เพราะทำให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้เป็นระยะเวลานานๆ ปุ๋ยอินทรีย์บางส่วนจะคงทนอยู่ในดินได้นานเป็นปี แต่ก็มีบางส่วนที่ ถูกย่อยสลายไป ในการย่อยสลายนี้จะมีแร่ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากปุ๋ยอินทรีย์ให้พืชได้ไช้อยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ถูกปลดปล่อย ออกมาตลอดเวลาและสม่ำเสมอ
คุณประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.ประโยชน์ต่อพืช
 ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพหรือลักษณะของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ถ้าดินนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายน้ำ ระบายอากาศดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ หรือดูดซับน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น คุณสมบัติในข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของปุ๋ยอินทรีย์ เพราะที่ดินที่มีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดีนั้น จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหารหรือน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนื้อหยาบ เช่นดินทราย ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรียวัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มน้ำ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านั้นสามารถอุ้มน้ำ หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้
มากกว่าปกติ
 นอกจากคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังสามารถช่วยปรับปรุงลักษณะดินในแง่อื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน ทำให้การงอกของเมล็ดหรือการซึมของน้ำลงไปในดินสะดวกขึ้น ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก เป็นการลดการพัดพาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไป เป็นต้น
2. ประโยชน์ต่อดิน
ในแง่ของการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้ คือ ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายน้ำได้ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหาร
3. ประโยชน์ต่อสัตว์

   โดยปกติไส้เดือนดินชอบอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง รวมถึงในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุจำนวนมากเพราะไส้เดือนดินนั้น จะไม่กินของมีชีวิต แต่จะเข้าย่อยสารอินทรีย์ที่เริ่มเน่าเปื่อย โดยเฉพาะสารอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง เช่น ในขยะอินทรีย์หรือเศษอาหารจากตลาดหรือจากชุมชนไม่แปลกที่จะพบเห็นไส้เดือนดินจำนวนมากในบริเวณใต้กองเศษพืช กองปุ๋ยคอก ที่กำลังเน่า หรือแม้แต่ปุ๋ญอินทรีย์ซึ่งช่วยให้ดินมีการปรับปรุงอย่างถาวร และเป็นเกษตรอินทรีย์อีกรูปแบบหนึ่ง

วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์


1. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชผัก
พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีระบบราก แบบรากฝอย รากสั้นอยู่ตื้นๆ ใกล้ผิวดิน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้ดินร่วนซุยขึ้น ทำให้รากของพืชผักเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แตกแขนงแพร่กระจายไปได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถดูดซับ แร่ธาตุอาหารได้รวดเร็ว ทนต่อการแห้งแล้งได้ดีขึ้น วิธีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ใน แปลงผักอาจใช้วิธีโรยปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้ว คลุมแปลงให้หนาประมาณ 1-3 นิ้ว ใช้จอบสับผสมคลุกเคล้าลงไปในดินให้ลึกประมาณ 4 นิ้วหรือลึกกว่านี้ ถ้าเป็นพืชที่ลงหัว พืชผักเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ต้องการแร่ธาตุอาหารจาก ดินเป็นปริมาณมาก ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้าจะให้ผลผลิตที่ดีควรใส่ปุ๋ยเคมี ร่วมไปกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ด้วย

    
2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเป็น พวกที่มีระบบรากลึก การเตรียมดินในหลุมปลูกให้ดีจะมีผลต่อระบบรากและการ เจริญตั้งตัวของต้นไม้ในช่วงแรกเป็นอย่างมาก ในการเตรียมหลุมปลูกควร ขุดหลุมให้ลึก แล้วใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดจากหลุมในอัดราส่วน ดิน 2-3 ส่วน กับปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ใส่กลับลงไปในหลุมเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ ต่อไป การใส่ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับไม้ผลที่เจริญเติบโตแล้วอาจทำโดยการพรวน ดินรอบๆ ต้น ห่างจากโคนต้นประมาณ 2-3 ฟุต ออกไปจนถึงนอกทรงพุ่มของ ต้นประมาณ 1 ฟุต พรวนดินให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว โรยปุ๋ยอินทรีย์ให้หนาประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่า ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน แล้วรดน้ำหรือจะใช้ วิธีขุดร่องรอบๆ ทรงพุ่มของต้นให้ลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ย หมักลงไปในร่องประมาณ 40-50 กิโลกรัมต่อต้น ใช้ดินกลบแล้วรดน้ำ ถ้าจะ ใส่ปุ๋ยเคมีด้วยก็ผสมปุ๋ยเคมีคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์ให้ดีแล้วใส่ลงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามวิธีดังกล่าวมานี้ เป็นการใส่ปีละครั้ง และเมื่อต้นไม้ มีขนาดโตขึ้นก็ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ตามขนาดของต้นไม้ด้วย
              
         
3. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชไร่ หรือนาข้าว
ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปานกลาง แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัดราอย่างน้อยปีละ 1.5-2.5 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถหรือคราดกลบก่อน การปลูกพืชในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือผืนดินเสื่อมโทรม อาจต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่มากกว่านี้ เช่นปีละ 2-3 ตันต่อไร่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและปริมาณการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืชไร่ หรือทำนาเป็นพื้นที่กว้าง ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไป ในแต่ละปีอาจไม่เพียงพอ ถ้าดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินควรต้องใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี หรือการจัดการดินวิธี อื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นต้น
ในพื้นที่นา 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 200 ก.ก. ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ โดยแบ่งได้เป็นระยะดังนี้
ไถพรวน
1. หว่านปุ๋ยอินทรีย์ 100 ก.ก. ให้ทั่ว
2. ผสมน้ำหมักชีวภาพ  20 ช้อนแกง ผสมน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง แล้วไถพรวนทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้น้ำหมักชีวภาพย่อยสลายวัชพืช และฟางข้าวให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ และเร่งการงอกของเมล็ดพืช
ไถคราด
                1. พ่นน้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วนเดิมอีกครั้ง
                2. ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
หลังปักดำ 7 - 15 วัน
1. หลังปักดำ 7 - 15 วัน หว่านปุ๋ยอินทรีย์ให้ทั่วแปลง 30 ก.ก./ไร่
2. พ่นตามด้วย น้ำหมักชีวภาพ 20 ช้อนแกง ผสมน้ำ 80 ลิตร
ข้าวอายุ 1 เดือน
1. หว่านปุ๋ยอินทรีย์ 30 ก.ก./ไร่
2. พ่นด้วยน้ำหมัก 20 ช้อนแกง ผสมน้ำ 80 ลิตร
ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
1. หว่านปุ๋ยอินทรีย์ 40 ก.ก./ไร่
2. พ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพ 20 ช้อนแกง ต่อน้ำ 80 ลิตร
ข้าวติดเมล็ดแล้ว
-พ่นน้ำหมักชีวภาพ 20 ช้อนแกง ต่อน้ำ 80 ลิตร

4. การใช้ทำวัสดุปลูกสำหรับไม้กระถาง
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ผสม กับดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ 2 ส่วน ถ้าผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราส่วนมากๆ วัสดุปลูก มักจะแห้งเร็วเกินไป และมีปัญหาเรื่องวัสดุปลูกยุบตัวมาก

5. การเตรียมดินสำหรับเพาะเมล็ดหรือปลูกต้นกล้า
ใช้อัตราส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน และดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ 2 ส่วน ถ้าใช้เพาะเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็กๆ ก็ใช้เมล็ดโรยหรือวางบนวัสดุเพาะดังกล่าว จากนั้นใช้ ปุ๋ยอินทรีย์โรยบางๆ ทับลงไปแล้วรดน้ำ

6. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชอื่นๆ
นอกจากจะใช้กับพวกพืชไร่ พืชสวน ดังกล่าวมาแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังสามารถใช้กับพวกไม้ดอกไม้ประดับได้เป็นอย่างดี ถ้าปลูกเป็นแปลงใช้อัตราเดียวกันกับที่ใช้ในแปลงผัก คือโรยปุ๋ยอินทรีย์คลุม แปลงให้หนาประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วใช้จอบสับผสมลงไปในดินให้ลึก ประมาณ 4 นิ้ว